หากศิลปินที่มีเทคนิคการเพนท์ด้วยสีน้ำมัน ด้วยฝีแปรงที่เป็นแบบเฉพาะของตนเอง มีความฉับไว บ่งบอกถึงความมั่นใจในการตัดสินใจในการลงแปรง ในแต่ละครั้ง คอมพิวเตอร์ก็สามารถทำได้ หรือศิลปินที่ใช้สีน้ำในการวาดภาพท้องทะเล ที่มีความอ่อนนุ่มของสี ในการประสาน ซืมผ่าน ระหว่างสีซึ่งกันและกัน เจ้าคอมพิวเตอร์ก็สามารถทำงานได้เช่นเดียวกัน หรือศิลปินที่ชอบการวาดภาพด้วยเกรยองค์ แสดงออกถึงความมั่นใจในการลงแสง เงา เจ้าคอมพิวเตอร์ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
หรือภาพอาคาร เมือง หรือบรรยากาศในแต่ละที่ ที่ศิลปินได้ถ่ายทอดออกมาให้ผู้ชมๆ ด้วยความรู้สึกที่อยากจะเข้าไปในภาพ ประดุจกับความฝัน เจ้าคอมพิวเตอร์ก็สามารถสร้างภาพที่มีมิติ มีการเคลื่อนไหว ดึงสายตาของผู้ชมให้ตามเข้าไปสู่ความลึกของภาพ ลัดเลาะไปตามซอกมุมต่างๆ เกิดอารมณ์ที่เร้าใจ ตื่นตาตื่นใจ นั่นคือการสร้างสรรค์ผลงาน 3d หรือ 3 Dimension
ผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์งานศิลปะ 3 มิติได้ส่งผลอันเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์หลากหลายด้าน กล่าวคือ 3D สามารถสร้างภาพจำลองเสมือนจริงที่สามารถนำมาประเมิน วิเคราะห์ หาปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต เช่น การจำลองอวัยวะภาพในของมนุษย์ การจำลองงานสถาปัตยกรรม การจำลองการออกแบบผลิตภัณฑ์ ยานยนต์ เป็นต้น และมีประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบได้จากการทำงาน ในจอคอมพิวเตอร์ โดยใช้เครื่องยิงเลเซอร์บนผิวเรซินให้แข็งตัว จนก่อนรูปขึ้นตามแบบ หรือ การสร้างผลงาน 3D ในการทำภาพยนตร์การ์ตูน ที่ถ่ายทอดจินตนาการอย่างไร้ขีดจำกัด ให้ความบันเทิงแก่ผู้ชม อันส่งผลต่อทัศนคติ ความรู้สึก ต่อมนุษย์ และอาจจะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้คล้อยตามได้ ผู้สร้างสรรค์ผลงาน 3D Computer Graphic ควรจะมีทักษะในด้านใด?
ผู้สร้างสรรค์งาน 3D ควรจะมีพื้นฐานทางศิลปะแบบเดิมอยู่บ้าง เนื่องจากมีควมจำเป็นในการนำเอาความรู้พื้นฐานศิลปะมาใช้ ในเรื่องของความเข้าใจเรื่องสี องค์ประกอบศิลปะ เป็นต้น อาจจะจำแนกได้ดังนี้
1. พื้นฐานทางด้านวาดเส้น และ การร่างภาพ เทคนิค การวาดเส้น หรือการร่างภาพ มีส่วนในการทำงานในด้านการถ่ายทอดความคิด ให้ออกมาเป็นรูปธรรม ในเรื่องการวาดให้เห็นทัศนียภาพ แสงเงา สัดส่วนของรูป คน สัตว์ สิ่งของ หากผู้สร้างสรรค์มีพื้นฐานทางด้านศิลปะมามากพอ จะช่วยให้ผลงานมีคุณภาพมากขึ้น
2. การระบายสี การ ระบายสีมีความสำคัญในด้านการใช้สีที่ถูกต้อง สวยงาม ให้ให้แสงในภาพ การคำนึงถึงรูปร่าง รูปทรง การทำพื้นผิวให้มีความเหมือนจริง องค์ประกอบของภาพ
3. มุมมองการถ่ายภาพแบบภาพยนตร์ ความ รู้ทางด้านการถ่ายภาพจะช่วยให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานได้นำเสนอมุมมองของภาพที่ น่าสนใจ การควบคุมแสง เงา สี และการจัดองค์ประกอบของภาพ
4. การถ่ายภาพนิ่ง ความรู้เรื่องการถ่ายภาพนิ่งช่วยให้ผู้สร้างสรรค์มีความเข้าใจเรื่องของ การสร้างภาพให้มีความชัดชึก ชัดตื้น แสง เงา การจัดองค์ประกอบภาพ การสร้างภาพเทคนิคพิเศษ
5. ประติมากรรม ความ รู้เรื่องประติมากรรมจะมีส่วนช่วยอย่างมากในเรื่องของมิติ หมายถึงก่อนการขึ้นรูปทรง 3 มิติในคอมพิวเตอร์หากผู้สร้างสรรค์งานได้ฝึกปั้นหุ่น หรือมีความสามารถทางด้านนี้ จะรู้ลักษณะทางกายภาพของหุ่น ตื้น ลึก หนา บาง ได้อย่างถ่องแท้ ลดเวลาในการสร้างภาพ 3 มิติในคอมพิวเตอร์ได้มาก
6. สถาปัตยกรรม สามารถ นำความรู้มาใช้ส่วนของการวางหุ่นในด้าน Plan, Front, Side, Perspective เช่น หากต้องการสร้างภาพของร้านกาแฟที่มีเคาท์เตอร์ โต็ะ เก้าอี้ โซฟา ดังนั้นผู้สร้างสรรค์ควรจะวางตำแหน่งของวัตถุต่างๆให้มีความเหมาะสม และสมจริง